หน้าที่ของเบรกคือการหยุดรถหรือทำให้การเคลื่อนไหวของรถช้าลงตามความต้องการตลอดเวลาขับขี่ ฉะนั้นเบรกจึงต้องทำการหยุดรถได้แน่นอนและรวดเร็วตลอดเวลาเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุทางทรัพย์สินและชีวิต
เป็นระบบเบรกรุ่นเก่าที่ยังมีใช้อยู่ในรถเก๋งบางรุ่น ในส่วนของดรัมเบรกจะมีลักษณะเป็นแผ่นเบรกสองแผ่นดันบริเวณกระทะเบรกเพิ่มความเสียดทาน เพื่อช่วยในการหยุดรถ หรือชะลอรถ การใช้ดรัมเบรกจะใช้ครบทั้ง 4 ล้อในตอนแรก และล้อมั้ง 4 ล้อในวงจรเบรกจะทำงานอย่างสัมพันธ์กัน
2. ดิสก์เบรก เป็นระบบเบรกที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน อาจจะเป็นระบบดิสก์เบรกทั้ง 4 ล้อ หรือเบรก 2 ล้อหน้าเป็นดิสก์เบรก 2 ล้อหลังเป็นดรัมเบรก ระบบการทำงานของดิสก์เบรกจะแยกทำงานกันคนละส่วนเป็นอิสระต่อกัน ระบบนี้เป็นระบบในรถรุ่นใหม่ รถรุ่นเก่ายังคงเป็นระบบที่ทำงานร่วมกัน
หลักใหญ่ที่จะทำให้เบรกมีประสิทธิภาพ
คือน้ำมันเบรกเป็นส่วนสำคัญนับจากชิ้นส่วนอื่นๆที่ใช้ร่วมกัน ในระบบเบรกระดับของน้ำมันเบรกจะมีส่วนคล้ายกับระบบของน้ำมันเครื่อง คือต้องพยายามคอยดูแลไม่ให้ลดลงกว่าระดับมาตรฐานที่วางไว้ ต้องคอยเช็กอยู่เสมอน้ำมันเบรกนี้จะมีขายอยู่ตามปั้มน้ำมันทั่วไป คุณภาพในแต่ละยีห้อนั้นใกล้เคียงกัน อยู่ที่ว่าต้องการยี่ห้อไหนหรืออาจใช้ตามมาตรฐานของคู่มือรถที่ให้มา นับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด
การตรวจสอบและเติมน้ำมันเบรก น้ำมันเบรกเป็นส่วนประกอบสำคัญอันหนึ่งในการเบรก ฉะนั้นจึงควรตรวจสอบให้อยู่ในระดับที่พอดีเสมอ หากปล่อยให้น้ำมันเบรกแห้งหรือรั่วไหลออกไปจนหมดหรือเหลือน้อยการเบรกอาจไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
ขั้นตอนการเติมน้ำมันเบรก 1. เปิดฝากระโปรงรถยนต์ 2. ถ้วยน้ำมันเบรกจะติดอยู่บริเวณชิดกับตัวถังรถในส่วนที่ติดกับกระจก ให้เช็กระดับของน้ำมันเบรกในถ้วยว่าอยู่ในระดับไหน ถ้าระดับน้ำมันเบรกอยู่ MAX ไม่ต้องเติมน้ำมันเบรก MIN ต้องเติมน้ำมันเบรกให้ถึงเส้น MAX ห้ามเติมน้ำมันเบรกเกินระดับ MAX เพราะจะทำให้น้ำมันเบรกกระฉอกเวลารถวิ่ง ซึ่งน้ำมันเบรกจะทำปฏิกิริยากับสีรถหรือบริเวณใกล้เคียงให้เสียหายได้ 3. ก่อนเปิดฝาน้ำมันเบรกให้เช็ดทำความสะอาดบริเวณฝาปิด-เปิด ให้สะอาดเพื่อป้องกันเม็ดทรายหรือละอองต่างๆตกลงไป ซึ่งอาจทำใหระบบเบรกเสียหายได้ 4. เติมน้ำมันเบรกลงไปในถ้วยตามระดับในข้อที่ 2 5. ปิดฝาให้เรียบร้อย อย่าลืมก่อนปิดฝาต้องทำความสะอาดบริเวณฝาปิดถ้วยน้ำมันเบรกด้วย มีรถยนต์รุ่นเก่าบางรุ่น ถ้วยน้ำมันเบรกจะติดอยู่บริเวณหัวเก๋งด้านคนขับก็ใช้วิธีการเติมแบบเดียวกัน การดูแลรักษาระดับน้ำมันเบรกและเติมน้ำมันเบรกให้ดูทุกๆ 3 วัน อย่าทิ้งให้นาน เพราะปริมาณน้ำมันเบรกจะลดลงในการใช้งานทุกครั้งจึงต้องหมั่นดูแล
ข้อควรระวัง
น้ำมันเบรกสามารถทำปฏิกิริยากับสีรถได้ ฉะนั้นเมื่อทำหกหรือหยดลงบริเวณตัวถังรถรีบเช็ดให้แห้งทันที อย่าปล่อยไว้เพราะจะทำให้สีถลอกได้ และห้ามวางขวดน้ำมันเบรกบนฝากระโปรงรถอย่างเด็ดขาด น้ำมันเบรกควรจะมีการเช็กถึงคุณสมบัติ เมื่อรถยนต์วิ่งได้ประมาณ 10,000 กิโลเมตร และเช็กทุก 10,000 กิโลเมตร จนถึง 40,000 กิโลเมตร จึงถ่าย น้ำมันเบรกเก่าออกแล้วเติมน้ำมันเบรกใหม่ลงไปแทนที่
สำหรับในส่วนของผ้าเบรกจากเบรกนั้น ยกให้เป็นหน้าที่ของช่างตรวจสภาพเมื่อครบตามเวลาหรือระยะทางที่กำหนดมาให้ในคู่มือรถยนต์ เพราะเป็นส่วนที่ไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง
เบรกมือ
คือเบรกที่ใช้ช่วงรถจอดสนิทหรือขณะที่รถขึ้นสะพานแล้วรถติดหรือทางลาดชันและรถติดอีกเช่นกัน ระบบเบรกมือนี้จะเป็นกลไกที่จะไปล็อกล้อหลังไม่ให้เคลื่อนที่เบรกมือจะอยู่บริเวณเกียร์ คืออยู่ถัดจากเกียร์ลงมาทางด้านหลังในกรณีของรถเก๋ง และอยู่บริเวณข้างพวงมาลัยรถในกรณีของรถบรรทุกเล็กและรถตู้
การดูแลรักษาเบรกมือไม่มีอะไร เพราะไม่มีส่วนที่ต้องคอยดูแล เพียงแต่เมื่อใส่เบรกมือแล้วเวลาจะออกรถอย่าลืมปลดเบรกมือด้วย จะสังเกตได้จากไฟเบรก ซึ่งจะทำระบบเบรกทางล้อหลังเสียได้ แต่รถยนต์บางรุ่นถ้ารถไม่ได้ปลดเบรกมือรถยนต์จะไม่วิ่งจนกว่าจะปลดเบรกมือให้เรียบร้อยเสียก่อนการใช้เบรกมือที่มีตำแหน่งอยู่บริเวณใต้พวงมาลัยให้ด้ามจับเบรกมือขึ้นมาจนสุดเช่นกัน แล้วหมุนไปทางขวาสูงสุด เวลาปลดก็ให้หมุนมาทางซ้ายและกด เช่นกัน
เรื่องน่ารู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเบรก
เบรกแบบดิสก์หรือแบบจานจะมีประสิทธิภาพการเบรกได้ดีกว่าเบรกแบบดรัม หรือแบบกระทำรถโดยทั่วไป นิยมใช้เบรกทั้งสองร่วมกันเพื่อป้องกันปัญหาที่ระบบเบรกเกิดเสียขึ้นมาส่วนใดส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ยังสามารถทำงานได้
ที่มา : นิตยสารตลาดรถ คอลัมน์รักษ์รถ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น